จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ปลาทอง

ปลาทอง
ประวัติของปลาทอง


คือ มีตำนานเล่าขานสืบทอดต่อกันมาว่า เมื่อหลายพันปีมาแล้วที่มณฑลซานสี  ประเทศจีน ดินฟ้าอากาศเกิดอาเพศ ความแห้งแล้งแผ่กระจายไปเมืองน้อยใหญ่ ผู้คนอดอยากล้มตายไปจำนวนมาก พระเจ้าผิงหวัง จักรพรรดิจีนในยุคนั้นได้มีราชโองการให้ประชาชนร่วมใจกันสวดอ้อนวอนเทพยดาฟ้าดินให้ช่วยขจัดภัยแล้งและความอดอยาก ดูเหมือนว่าเทพยดาคงได้ยินคำสวดอ้อนวอนของชาวบ้านชาวเมืองและเกิดความสงสารจึงบันดาลให้เกิดน้ำพุผุดขึ้นรอบตัวเมือง ขับไล่ความแห้งแล้งมลายหายไปกลายเป็นความชุ่มชื้นเขียวชอุ่ม น้ำจากน้ำพุเหล่านี้ได้ไหลมารวมในแอ่งหินหนึ่งซึ่งชาวบ้านสังเกตเห็นฝูงปลาทองแหวกว่ายอยู่ในแอ่งนั้นชาวจีนจึงเชื่อกันว่า  "ปลาทอง"  เป็นของขวัญที่เทพยดาประทานให้มนุษย์ เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์

  ปลาทอง  เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์  (Family)  เดียวกับปลาไน  คือ Cyprinidae  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Carassius auratus  ต้นตระกูลของปลาทอง  คือปลา  "หลีโกว" หรือ "หลีฮื้อ"  (Common Crucian)  มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนตอนใต้ ในธรรมชาติอาศัยอยู่ตามแม่น้ำ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง อยู่ได้ทั้งสภาพน้ำไหลเชี่ยว น้ำไหลเอื่อย และน้ำนิ่ง อุณหภูมิ ตั้งแต่ 10-32 องศาเซลเซียส ปลาที่มีอายุ 2-3 ปี จะยาวประมาณ 30 เซนติเมตร หนัก 2.5 กิโลกรัม
   ย้อนหลังไปในสมัยราชวงศ์ "จิ๋น" (Tsin) ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 808-963 มีคนจับปลาหลีโกว หรือ หลีฮื้อ  มาเลี้ยงในบ่อสำหรับเป็นอาหาร เลี้ยงไป เลี้ยงมาปลาในบ่อมีการผสมพันธุ์กันได้ปลารุ่นใหม่ออกมา คนเลี้ยงสังเกตเห็นว่า ลูกปลาบางตัวมีสีสันเพื้ยนไปจากพ่อแม่ของมัน คือเป็นสีทองแทนที่จะเป็นสีน้ำตาลอมดำ  เป็นลักษณะของการกลายพันธุ์ และถือได้ว่า เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทอง
   ต่อมาในสมัยราชวงศ์  "ถัง"  (Tang)  ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 811-907 มีการคัดแยกปลาที่มีสีทองมาเลี้ยงไว้ในบ่อตามวัดต่างๆ  นับเป็นปลาทองสายพันธุ์แรกที่แตกกอมาจากปลาทองป่า หรือปลาทองธรรมชาติซึ่งเรียกกันว่า "ปลาทองธรรมดา" (Golden Chinese Crucian/Common Goldfish)
   
ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 1511-1518  ทางภาคใต้ของจีนได้มีการเพาะพันธุ์ปลาทองเกิดขึ้นหลายเจ้า และมีการขยายตัวไปตามเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองหังโจว  และนานกิง  ทางการถึงกับออกกฎหมายห้ามประชาชนบริโภคปลาทอง
   ตกมาถึงราชวงศ์  "ซ้อง"  (Song)  ช่วงระหว่างปี พ.ศ.  1670-1822  มีการนำปลาทองมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในบ่อเลี้ยงปลาตามบ้านขุนนางและผู้ดีมีอันจะกินปลาทองทื่เกิดใหม่จากการผสมพันธุ์บ่อเลี้ยงมีการกลายพันธุ์ต่อไปอีก ได้ปลาที่มีสีเงินหรือขาวล้วน  และสีขาวสลับแดง  
   จนกระทั่งประมาณปี พ.ศ.  1822-2089  การเลี้ยงปลาทองเพื่อความเพลิดเพลินได้แพร่กระจายไปสู่สามัญชนชาวจีนทั่วไป  รวมทั้งในมณฑลทางภาคเหนือที่เมืองปักกิ่ง  ในคูล้อมรอบกำแพงเมืองเต็มไปด้วยปลาทองชาวเมืองปักกิ่งเองก็นิยมเลี้ยงปลาทองในอ่างกระเบื้องกันแทบทุกหลังคาเรือน
   ในยุคของราชวงศ์  "หมิง"  (Ming)  ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 1911-2187  ความนิยมเลี้ยงปลาทองกำลังบูมสุดขีด ในช่วงนี้มีคนพยายามจะเพาะพันธุ์ปลาทองที่มีลักษณะแตกต่างไปจากปลาทองธรรมดา   มีลูกปลาทองกลายพันธุ์เกิดขึ้นมาใหม่อีกหลายแบบ ทั้งชนิดครีบหางคู่ (Double tails)  ชนิดไม่มีครีบหลัง และชนิดลำตัวสั้นเป็นรูปไข่
พันธุ์ปลาทอง
ปลาทอง GoldFish
ปลาทอง ชือวิทยาศาสตร์ Carassius auratus เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่17และถูกนำไปเผยแพร่ ในอเริกาในศตวรรษที่ 19 ชาวจีน และชาวญี่ปุ่นนับเป็นชนชาติแรก ที่รู้จักวิธีการผสมพันธุ์ปลาทอง แต่ละสายพันธุ์ยังถูกแยกออกไปอีก เป็น อีกหลายพันธุ์ ตามสี ตามลักษณะหาง หัว ซึ่งปัจจุบัน ถูกผสมข้ามสายพันธุ์ มีลักษณะแตกต่างกันออกไป

ทองออแรนดา (Oranda goldfish)
ทองออแรนดา (Oranda goldfish) แหล่งกำเนิด ประเทศจีน ปลาทองออแรนดาเป็นปลาที่มีช่วงลำตัวยาว ครีบทุกครีบยาว โดยเฉพาะครีบหาง เป็นครีบที่ยาว เป็นพวง สวยงาม บริเวณหัวอาจจะมีวุ้นหรือไม่มีก็ได้ เป็นปลาที่สามารถเจริญเติบโต มีขนาดใหญ่กว่าปลาทอง ชนิดอื่น ปลาชนิดนี้เลี้ยงง่ายเป็นที่รู้จักกันทั่วไป กินอาหารจำพวกลูกน้ำ,ไร, อาหารเม็ด สามารถเลี้ยง รวมกันกับปลาทองชนิดอื่นได้

ทองเกล็ดแก้ว (Pearl scale GoldFish)
ทองเกล็ดแก้ว (Pearl scale GoldFish) แหล่งกำเนิด ประเทศจีนปลาทองเกล็ดแก้วมีลักษณะเด่นที่มีลำตัว สั้นป้อม ส่วนมากจะกลม เกล็ดจะหนานูนขึ้น แตกต่างจาก ปลาทองพันธุ์อื่น ๆ ตรงส่วนหัวอาจจะมี หรือ ไม่มีวุ้น ก็ได้ ปลาทองชนิดนี้เป็นปลาที่ต้องการ การเอาใจใส่ เป็นพิเศษ เพราะเป็นปลาที่ค่อนข้าง จะบอบบาง กินอาหารง่าย ไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น

ทองหัวสิงห์ (Lion head goldfish)
ทองหัวสิงห์ (Lion head goldfish) แหล่งกำเนิด ประเทศจีนปลาทองหัวสิงห์เป็นปลาทองชนิดที่ ได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้เลี้ยงปลา เพราะมีลักษณะที่น่ารัก ลำตัวกลม ไม่มีครีบหลัง มีอยู่ 2 สายพันธ์ คือ สิงห์จีน และสิงห์ญี่ปุ่น ความแตกต่างสิงห์จีนจะหัวใหญ่ มีวุ้นหนา ลำตัวยาว ส่วนสิงห์ญี่ปุ่นจะมีส่วนหัว ที่เล็กกว่า ส่วนใหญ่ไม่มีวุ้น ลำตัวสั้น หลังจะโค้งมน หางสั้น และเชิดขึ้น ดูสง่างาม ปลาทองหัวสิงห์ เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินลูกน้ำ ไรแดง ไข่ การเลี้ยงปลาชนิดนี้ ให้ได้ดี ควรเลี้ยงในอ่างตื่นๆ ลึกไม่เกิน 8 นิ้ว

ริวกิ้น (Veiltail goldfish)
ริวกิ้น (Veiltail goldfish) ปลาทองริสกิ้นเป็นปลาที่ได้รับความนิยมจากผู้ที่เลี้ยงปลา เนื่องจาก มีรูปทรง ที่สวยงาม ลำตัวป้อมสั้น ท้องใหญ่ หางยาวเป็นพวง ส่วนหัวสูงลำตัวเป็นสีส้ม หรือส้มแดงปนขาว เวลาว่ายน้ำจะเป็นท่วงท่า ที่ สง่างาม ปลาชนิดนี้มีทั้งที่สั่งมาจากประเทศญี่ปุ่น และเพาะพันธุ์ขึ้นเอง ในประเทศไทย ตู้ที่เลี้ยงปลา ชนิด นี้ ต้องเป็นตู้ที่มีน้ำใสสะอาด ไม่ควรให้เย็นเกินไป ปลาชนิดนี้ ชอบกินอาหารพวกลูกน้ำ,อาหารสำเร็จรูป

ชูบุงกิง (Shubunkin goldfish)
ชูบุงกิง (Shubunkin goldfish) ปลาทองชุงบุงกิง หรือตลาดค้าปลาสวยงามเรียกว่า ชูบานกิ้น เป็นปลาทองที่มีลักษณะเด่น ที่มีครีบหาง เดี่ยว แยกเป็นสองแฉก ลำตัวเรียวยาว ลำตัวส่วนมากมีสีส้ม ส้มแดง แดงขาว อาจจะมีสีดำประบ้าง ปลาทอง ชนิดนี้เลี้ยงง่าย เป็นปลาที่มีความทนทานมาก กินอาหาร เก่ง กินได้แทบทุกประเภท ปลาทองชนิดนี้ จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันอีกชนิดหนึ่ง เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ชอบพวก ลูกน้ำ ไร และอาหารสำเร็จรูป

ทองเล่ห์ หรือ ลักเล่ห์ (speckled goldfish)
ทองเล่ห์ หรือ ลักเล่ห์ (speckled goldfish) แหล่งกำเนิด ประเทศจีนปลาทองเล่ห์เป็นปลาที่มีลักษณะ เด่นที่มีลำตัวเป็นสีดำสนิทแม้กระทั้งครีบทุกครีบ ปลาชนิดนี้นับว่า เป็นที่ นิยมเลี้ยงกันพอสมควร เป็น ปลาที่มีตาโปนออกมา ครีบหางบานใหญ่ บางชนิดมีชื่อเรียกว่า เลห์ตุ๊กตา หรือ เล่ห์หางผีเสื้อ เนื่องจาก ครีบหางที่แผ่คล้ายกับผีเสื้อ จัดว่าเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้สวยงาม น่ารัก เป็นปลาที่เลี้ยง ง่าย ชอบอาหาร พวกลูกน้ำ ไรแดง หนอนแดง และอาหารสำเร็จรูป สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้


ทองตาลูกโป่ง ( Buble eye gold fish)
ทองตาลูกโป่ง ( Buble eye gold fish) แหล่งกำเนิด ประเทศจีนปลาทองตาลูกโป่งเป็นปลาที่มีลักษณะเด่น เป็นที่สังเกตได้ง่ายตรงที่มีตาใหญ่คล้ายลูกโป่ง ทำให้ปลา ชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันดี ปลาชนิดนี้ปกติจะไม่มี ครีบหลัง การที่มีตาขนาดใหญ่ทำให้ว่ายน้ำได้เชื่องช้า คนส่วนใหญ่ชอบซื้อปลาที่มีขนาดตาทั้ง 2 ข้าง เสมอกัน การเลี้ยงปลาชนิดนี้ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพราะเป็นปลาที่ค่อนข้างจะบอบบางมีจุดอ่อนที่ตา ไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาดุร้ายอื่น ๆ กินลูกน้ำ ไร และอาหารสำเร็จรูป

วิธีการขยายพันธุ์
 การเพาะพันธ์ปลาทองควรจัดภาชนะที่ใช้เพาะปลาโดยเฉพาะซึ่งมีเนื้อที่อย่างน้อย 1 ตารางเมตร และลึก 20 เซนติเมตร บ่อเพาะควรล้าง และทำความสะอาดอย่างดี ไม่มีศัตรูของปลา เช่น ปลาเล็กๆหรือหอย ฯลฯ ไข่ปลาทอง เป็นไข่ ประเภทไข่ติด ดังนั้นการเพาะพันธ์ควรใช้สาหร่าย หรือเชือกฟางพลาสติกเป็นวัสดุที่ให้ไข่เกาะ
อัตราการเพาะพันธ์ควรใช้ปลาตัวเมีย 1 ตัว ต่อตัวผู้ 2 ตัว เพราะไข่ปลาตัวเมียมีปริมาณมาก การใช้ปลาตัวผู้มากกว่าตัวเมีย จะทำให้อัตราการผสมของไข่ดีขึ้น เวลาที่ปลาลงบ่อเพาะควรเป็นเวลาเย็น เพื่อให้ปลาผสมพันธ์วางไข่ในเช้ารุ่งขึ้น ไม่ต้อง ให้อาหารปลาในขณะเพาะพันธ์ และควรให้ออกซิเจนหรือปั๊มอากาศในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าจะมีออกซิเจนในน้ำเพียงพอ
หลังจากที่ปลาวางใข่แล้วให้ย้ายพ่อแม่ปลาออก แล้วย้ายไข่ไปฟักในภาชนะที่มีน้ำคุณภาพดี ส่วนน้ำในบ่อเพาะควรเปลี่ยน และดูดตะกอน เพราะยังมีไข่ผสมแล้ว ร่วงอยู่ที่พื้นจำนวนมาก ไข่ปลาทองมีสีเหลืองโปร่งแสง เวลาฟักเป็นตัวเวลา 2 วัน ในอุณหภูมิ 25-28 องศาเซลเซียส ลูกปลาวัยอ่อนจะใช้อาหารจากถุง ไข่แดงที่ติดตัวประมาณ 1-2 วัน หลังจากนั้น จะเริ่ม กินอาหารขนาดเล็กๆ เช่น ไรน้ำ ลูกปลาที่ได้รับการดูแลอย่างดีมีขนาด 1-2 นิ้ว ในเวลา 2 เดือน การเพาะพันธ์ปลาทอง ควรใช้ปลาพันธ์เดียวกันเป็นพ่อแม่พันธ์ แม้ว่าปลาทุก ๆ พันธ์จะสามารถผสมกันได้ แต่ก็จะได้ลูกปลาที่มีลักษณะแปลก ๆ ไม่สวยงามตามที่นักเลี้ยงปลานิยม แต่หากท่านอยากจะทดลองเพาะดูเพื่อศึกษาเองก็ไม่ผิดกติกาอันใด

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554